คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

1. จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
       จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์  หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทาง
ปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในทางปฏิบัติแล้วการระบุว่า
การกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนักทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม
ของสังคมในแต่ละประเทศด้วย
       ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม หากพิจารณา
อีกด้านหนึ่งแล้ว  คอมพิวเตอร์ก็อาจจะเป็นภัยได้เช่นกัน หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้
ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในการการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม  ในแต่ละประเทศ
จึงได้มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิด
จริยธรรม ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำ
ที่ผิดจริยธรรม  เช่น
      - การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความรำคาญ
       - การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
       - การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
       - การละเมิดลิขสิทธิ์
โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว
จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
       1.  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
       2.  ความถูกต้อง (Information Accuracy)
       3.  ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
       4.  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
       ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไป หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง
และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น
สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ  ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับ
ความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
       1.  การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์
รวมทั้งการบันทึก แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
       2. การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น
บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน การใช้บริการของพนักงาน
ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ  แต่กิจกรรมหลายอย่าง
ของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
       3. การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
       4. การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ
เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
       ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ
จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการให้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการ
ลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล
ความถูกต้อง (Information Accuracy)
       ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะ
ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
ย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง
ของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
เช่น ในกรณีที่องค์กรให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์
อีกประเด็น คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใด
จะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้อง
และน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการ
ปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไป  ตรวจสอบ
ความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ
หรือที่สอน เพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
       สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไป
ที่จับต้องได้ เช่น รถยนต์  คอมพิวเตอร์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้
เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น
สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
       ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ใน
การใช้ซอฟต์แวร์นั้นสำหรับท่านเอง หลังจากที่ท่านเปิดกล่อง หรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายความว่า
ท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไป
ในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมจะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้
กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม
ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ ได้  หลาย ๆ เครื่อง ตราบใดที่ยังเป็นบุคคล
ที่มีสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา 
       การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อน
ว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธิ์ในระดับใด เช่น
                           Copyright   หรือ  Software License  ท่านซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มา และมีสิทธิ์ใช้
                           Shareware  ซอฟต์แวร์ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
                           Freeware  ซอฟต์แวร์ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibilit)
       ปัจจุบันการใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับ
ของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้อง
และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิ ในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข
ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้นในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบ
รักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น
ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
       ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติ
ตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมา
ข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

แหล่งที่มา:http://www.softbizplus.com/computer/704-ethics-in-the-compute

              http://www.deecrub.ob.tc/page02_01.htm

 

2. บัญญัติ 10 ประการของการใช้คอมพิวเตอร์
       ลินดา เฮอร์นดอน ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ
     จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทําให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่
จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไป
อย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน
เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/pornnipaask11/

 

3. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
       อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องมือสำคัญในการก่ออาชญากรรมและกระทำความผิดนั้น
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้มีผู้นิยามให้ความหมายดังนี้
      - การกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทําให้เหยื่อได้รับความเสียหาย
และผู้กระทําได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
      - การกระทําผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการ
สืบสวนสอบสวนของผิดมาดําเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
       การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ
ของประเทศจํานวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสําคัญ

                                            

ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
       1. Novice อาชญากรมือใหม่หรือมือสมัครเล่น เป็นพวกที่อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่
จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย
       2. Darnged person อาชญากรพวกจิตวิปริต เป็นพวกผิดปกติ มีลักษณะนิสัยที่ชอบความรุนแรง
       3. Organized Crime อาชญากรที่ร่วมมือกันกระทำความผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ ๆ
       4.  Career Criminal อาชญากรมืออาชีพ
       5. Com Artist  อาชญากรหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์
       6. Dreamer อาชญากรพวกบ้าลัทธิ จะกระทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรง
       7. แคร็กเกอร์ Cracker คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล
ด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถ
ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่างน้อยทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย
โดยกระทำของ cracker มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ
       8. แฮกเกอร์ Hacker หมายถึงผู้ที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการทำงานอันลึกลับซับซ้อนของ
การทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ตาม ส่วนมากแล้ว hacker จะเป็นโปรแกรมเมอร์ 
สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ได้
       9. อาชญากรในรูปแบบเดิม ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เช่น
พยายามขโมยบัตร ATM และรหัสบัตรของผู้อื่น

รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
       ปัจจุบันทัวโลก ได้จําแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ 9 ประเภท (ตาม
ข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์)
        1.  การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
       2. อาชญากรรมนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความรับผิดของตนเอง
       3. การละเมิดลิขสิทธิ์ปลอมแปลง เลียนแบบระบบซอพต์แวร์ โดยมิชอบ
       4. ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
       5. ไปก่อกวน ระบายสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ ระบบการจราจร
       6. ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามกอนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
       7. หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
       8. แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ
       9. ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินในบัญชีผู้อื่น เข้าบัญชีตัวเอง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ
       1.  การเจาะระบบรักษาความปลอดภัย ทางกายภาพ ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ
       2.  การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสาร และการรักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ข้อมูล 
       3. เป็นการเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัย ของระบบปฏิบัติการ (Operating System)
       4. เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทาง
ในการกระทําความผิด

                                pngtree.com

แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/tiktucksiriporn

                                                                                       <<คลิกที่นี่เพื่อกลับสู่ด้านบน>>

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2561