ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560             

  พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2560
ความผิดฐานส่งสแปม
โดยปกปิดแหล่งที่มา
ส่งสแปมถ้าไม่เปิดช่องให้บอกเลิก
เพิ่มโทษปรับเป็น 200,000 บาท
เพิ่มโทษปรับสองเท่า
หากไม่เปิดช่องให้บอกเลิกได้
ความผิดต่อระบบ
ความมั่นคง
ไม่มีโทษเฉพาะ เพิ่มโทษการเจาะระบบ
การทำลายระบบ
ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
การนำเข้าข้อมูลเท็จ
ตามมาตรา 14 (1)
เปิดช่องให้ตีความเอาผิดกับ
การหมิ่นประมาทออนไลน์
มุ่งเอาผิดการกระทำต่อทรัพย์สิน
ชัดเจนขึ้น แต่ยังเปิดช่องให้ตีความ
เอาผิดกับการหมิ่นประมาทได้อยู่
การนำเข้าข้อมูลเท็จ
ที่กระทบต่อความมั่นคง
เอาผิดกับการนำเข้าข้อมูลเท็จที่น่าจะ...
1) เสียหายต่อความมั่นคงของ
ประเทศ
2) ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก
แก่ประชาชน
เอาผิดกับการนำเข้าข้อมูลเท็จที่น่าจะ...
1) เสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
2) เสียหายต่อความปลอดภัยสารธารณะ
3) เสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
4) ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่
แก่ประชาชน
ผู้ให้บริการที่ไม่ลบ
เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย
รับผิดต่อเมื่อ
" จงใจสนับสนุนหรือยินยอม"
รับผิดต่อเมื่อให้ความร่วมมือ ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ
ถ้าได้รับแจ้งเตือนแล้วลบออกไม่ต้องรับโทษ
การเผยแพร่ภาพตัดต่อ ผิดเฉพาะภาพคนที่ยังมีชีวิต ภาพคนตาย ก็อาจผิดได้
ให้ทำลายภาพตัดต่อ ไม่ได้เขียนไว้ ให้ยึดและทำลายภาพตัดต่อได้
เนื้อหาที่จะถูก ฺBlock
1) เป็นความผิดต่อความมั่นของ
ประเทศ
2) เป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อ
การร้าย
3) ขัดต่อความสงบเรียบหรือ
ศีลธรรมอันดี
1) เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์ฯ ทุกประเภท
2) เป็นความผิดต่อความมั่นคงของ
ประเทศ
3) เป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
4) เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่น
ที่ขัดต่อความสงบเรียบรอยหรือ
ศีลธรรมอันดีและเจ้าหน้าที่ตาม
กฎหมายนั้นร้องขอ
5) ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย
แต่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดี และคณะกรรมการ
กลั่นกรองมีมติเอกฉันท์
คณะกรรมการ
ตามกฎหมายนี้
ไม่มี มีคณะกรรมการสองชุด
1) คณะกรรมการเปรียบเทียบ ปรับ
สำหรับความผิดที่มีแต่โทษปรับ
หรือโทษจำคุกไม่เกินสองปี
2) คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ไม่ผิดกฎหมายแต่ให้
บล็อคได้
ผู้ให้บริการมีหน้าที่
เก็บข้อมูลการใช้การ
เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน กรณีจำเป็น
สั่งให้เก็บเพิ่มได้ไม่เกิน 1 ปี
เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 ปี กรณีจำเป็น
สั่งให้เก็บเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี
เงินสำหรับเจ้าพนักงาน ไม่มี มีเงินเพิ่ม
สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ

                                                         (ขอบคุณข้อมูลจาก ilaw)

      เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ที่นำเสนอมีดังนี้
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ… วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ
ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ. ที่ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมใน พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
       ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า
“พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการ
ที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี
ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
       สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
มาตรา 4
      “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยไม่เปิดโอกาส
ให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์
เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
มาตรา 5
กำหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทำผิดใน 5 ประการ ได้แก่
       1.  การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน
       2.  นำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไป
เปิดเผยโดยมิชอบ
       3.  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
       4.  ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์
และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ
       5.  ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลง
แหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว
ทั้งหมดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท 
ที่สำคัญ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ
ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ 
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท
       ส่วนเรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความเสียหายให้กับบุคคล ร่างกฎหมายฉบับนี้
ก็ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทำความผิดเข้มข้นมากขึ้นด้วย
       โดนบัญญัติในมาตรา 10 ว่า “ผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น
ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น
นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
       มาตรา 10 ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทำผิดต้องรับทั้งโทษ
จำคุกและโทษปรับ จากเดิมที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ
ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอให้ สนช.พิจารณา ยังได้บัญญัติมาตรการทางศาล
เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย โดยมาตรา 11 ระบุว่า “ในคดีซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง
       (1) ให้ยึดและทำลายข้อมูล
       (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่อที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา”
       เช่นเดียวกับ มาตรา 20 ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้ง ยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลขอให้มี
คำสั่งระงับการเผยแพร่หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์
ในที่นี้มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
       (1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. นี้
       (2) ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1
หรือลักษณะ 1/1 ตามประมวลกฎหมายอาญา
       (3) ข้อที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ และข้อมูลนั้น
มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
       (4) ข้อมูลที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรืออันดีของประชาชน
ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์

    

แหล่งที่มา:http://www.maejonet.mju.ac.th

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2561